วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปลูกข้าวโพดหวาน-เลี้ยงโคขุน


 เกษตรต่างๆ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=hoonvi&group=8

การเลี้ยงโคขุน

http://www.dld.go.th/service/calf/main.html

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=hoonvi&date=20-07-2006&group=8&gblog=2

ปลูกข้าวโพดหวาน-เลี้ยงโคขุน กำไร 3 ต่อ ที่ 'ครบุรี'

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 51
"สุ รพรหม จันทร์ชม” หนุ่มใหญ่วัย 48 ปี เจ้าของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลมาบตะโกเอน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เป็นเกษตรกรต้นแบบรายหนึ่งที่ประสบความสำเร็จด้าน “การทำเกษตรแบบเกื้อกูลกัน” ระหว่างการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ โดยเขาได้ปลูกข้าวโพดหวานควบคู่กับการเลี้ยงโคขุนป้อนตลาด ขณะเดียวกันยังนำต้นข้าวโพดซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาผลิตข้าวโพดหมักขายให้กับผู้เลี้ยงโคนมและโคเนื้อในพื้นที่และจังหวัดใกล้ เคียงด้วย ได้กำไรถึง 3 ต่อ

คุณสุรพรหมเล่าให้ทีมงานฟังว่า เดิมครอบครัวทำอาชีพปลูกข้าวโพดหวานในที่ดิน 19.37 ไร่ ที่ ส.ป.ก.จัดสรรให้เข้าทำกิน หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งตลาดแล้ว เห็นว่ามีต้นข้าวโพดเหลือเป็นจำนวนมาก จะไถกลบก็เสียดาย จึงเกิดแนวคิดนำต้นข้าวโพดหวานมาใช้เป็นวัตถุดิบเลี้ยงโคเนื้อ เมื่อทดลองแล้วได้ผลดีจึงทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการปลูก พืชเชิงเดี่ยว และยังเป็นการใช้เศษวัสดุทางการเกษตรที่มีมากในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอีกทางหนึ่ง

ข้าวโพดหวาน เป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น หนึ่งปีสามารถปลูกได้ถึง 3 ครั้ง ใช้ต้นทุนไร่ละ  5,500-6,000 บาท ได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน/ไร่/รอบการผลิต ขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางในตลาดสุรนคร จังหวัดนครราชสีมา ราคากิโลกรัมละ 5.50 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วมีกำไรเหลือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท/ไร่/รุ่น หรือประมาณ 285,000 บาท/ปี 

หลังเก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดหวานป้อน ตลาดแล้ว ต้องรีบตัดต้นข้าวโพดก่อนที่ต้นจะแห้งหรือตัดให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งจะได้ต้นที่มีความสดและมีระดับโปรตีน สูง พื้นที่ 1 ไร่ จะได้น้ำหนักประมาณ 2 ตัน จากนั้นนำมาเข้าเครื่องสับบดแล้วนำไปใช้เป็นอาหารเลี้ยงโคขุนลูกผสมบรามันห์ ที่มีอยู่กว่า 60 ตัว โดยให้กินเต็มที่ โคจะมีอัตราการแลกเนื้อดี ใช้ระยะเวลาขุนประมาณ 4-6 เดือน ก็สามารถขายโคขุนให้กับพ่อค้าหรือเขียงเนื้อในพื้นที่ได้ ราคากิโลกรัมละ 45 บาท ได้กำไรประมาณ 700 บาท/ตัว/เดือน หลังจากทยอยขายโคขุนออกไปแล้ว ก็จะตระเวนหาซื้อโคเพศผู้อายุ 2-3 ปี เข้ามาขุนใหม่อยู่เรื่อย ๆ เพื่อรักษาตลาดไว้

“ระยะ 4-5 ปีที่ดำเนินธุรกิจนี้มาถือว่าพออยู่ได้และเลี้ยงตัวรอด ทั้งข้าวโพดและโคเนื้อต่างเกื้อกูลกัน ซึ่งโคขุนได้กินอาหารที่มีคุณค่าสูง ขณะเดียวกันก็ใช้มูลโคเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินในแปลงปลูกข้าวโพดหวาน สามารถช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก ถึงแม้ปุ๋ยจะแพงก็ไม่มีปัญหา”

คุณ สุรพรหมยังบอกอีกว่า เนื่องจากพื้นที่ตำบลมาบตะโกเอนและตำบลใกล้เคียง มีผู้ปลูกข้าวโพดหวานกว่า 400 ราย ทำให้มีต้นข้าวโพดเหลือเป็นจำนวนมาก ตนจึงคิดนำวัตถุดิบส่วนที่เหลือมาผลิตเป็นข้าวโพดหมัก เพื่อเก็บไว้เป็นอาหารเลี้ยงโคขุนในช่วงที่ต้นข้าวโพดสดหายาก สำหรับการผลิตข้าวโพดหมักนั้นทำง่าย ๆ ภายหลังบดสับต้นข้าวโพดแล้ว ก็นำมาบรรจุในถุงพลาสติกใสน้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม ซ้อนด้วยกระสอบปุ๋ยอีกหนึ่งชั้น จากนั้นใช้เทคนิคดูดอากาศออกคล้ายระบบสุญญากาศ แล้วต้องรัดปากถุงทั้งสองชั้นให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 21 วัน ขบวนการหมักจะสมบูรณ์และได้ข้าวโพดหมักที่มีคุณภาพดี มีกลิ่นหอมซึ่งโคชอบกินมากกว่าสภาพสด 

การทำข้าวโพดหมักแบบดูด อากาศออก มีข้อดีอีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 3 เดือน ปัจจุบันมีกำลังการผลิตข้าวโพดหมัก 15 ตัน/วัน ส่วนหนึ่งกักตุนไว้ใช้เลี้ยงโคขุนในฟาร์ม และที่เหลือส่งขายให้กับสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์ อำเภอขามทะเลสอ และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในละแวกใกล้เคียง น้ำหนัก 30 กิโลกรัม ราคากระสอบละ 45 บาท ช่วยเสริมรายได้อีกทางหนึ่งด้วย

หากสนใจที่จะ ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ การปลูกข้าวโพดหวาน การผลิตข้าวโพดหมักใช้เลี้ยงโคขุน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินตำบล มาบตะโกเอน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา โทร. 08-1966-9306 หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมา โทร. 0- 4424-1345, 0-4424-3991 ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 1 กรกฎาคม 2551
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=168659&NewsType=1&Template=1







ข้าวฟ่าง

เมล็ดข้าวฟ่างเป็นอาหารที่สำคัญของมนุษย์ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ประเทศในทวีปแอฟริกา ประเทศอินเดียและจีน มนุษย์อาจบริโภคข้าวฟ่างโดยตรงเป็นอาหารหลัก  โดยหุงต้มคล้ายข้าว หรือบริโภคในรูปของผลิตภัณฑ์ทำจากแป้งข้าวฟ่าง  นอกจากนี้ ยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ได้ดีอีกด้วย คนเริ่มนิยมใช้ข้าวฟ่างผสมเป็นอาหารสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับข้าวโพด ข้อได้เปรียบของข้าวฟ่าง ก็คือ ราคาถูกกว่า แม้ว่าข้าวฟ่างจะมีไขมันน้อยกว่าข้าวโพดเล็กน้อยทำให้ต้องใช้ข้าวฟ่าง มากกว่าข้าวโพดในการที่จะให้ได้น้ำหนักเพิ่มเท่ากัน  แต่เมื่อคิดต้นทุนกำไรแล้ว การใช้ข้าวฟ่างทำเป็นอาหารสัตว์  อาจจะได้กำไรมากกว่า  โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวฟ่างที่ดีจะมีคุณค่าอาหารใกล้เคียงกับข้าวโพด

          ต้นและใบของข้าวฟ่างบางชนิด  ใช้ทำหญ้าแห้ง หญ้าหมัก หรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดีเช่น หญ้าอัลมัม หญ้าซูแดกซ์ เป็นต้น

          ข้าวฟ่างหวานหรือซอร์โก มีน้ำตาลในลำต้นมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยการหีบเอาน้ำหวานไปทำน้ำตาล  ทำน้ำเชื่อม  หรือนำไปหมักเพื่อผลิตแอลกอฮอล์

          ข้าวฟ่างไม้กวาด ใช้ประโยชน์จากช่อดอกโดยนำเอาก้านช่อดอกมาทำไม้กวาดและแปรงทาสีได้

          นอกจากนี้แล้ว  ข้าวฟ่างยังใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายชนิด เช่น แป้งข้าวฟ่าง ใช้ในอุตสาหกรรมทำไม้อัด ทำกาว ทำกระดาษ ทำผ้าและทำแอลกอฮอล์ ข้าวฟ่างบางพันธุ์ เมล็ดมีรสขมฝาดก็สามารถนำมาหมักเป็นเบียร์ได้ ในประเทศจีนยังใช้เมล็ดข้าวฟ่างบางชนิด ทำเหล้า พวกเกาเหลียงได้ด้วย ในการใช้ประโยชน์จากต้นและใบข้าวฟ่างนั้น  มีสิ่งที่ต้องพึงระวังไว้บ้างคือ ในต้นและใบข้าวฟ่างที่ยังอ่อนอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้าจะมีสารพิษที่เรียกว่าดูร์ริน (dhurrin) อยู่มาก ถ้าสัตว์กินเข้าไปสารพิษตัวนี้จะถูกย่อยกลายเป็นกรดปรัซสิก  (prussic acid) หรือกรดไฮโดรไซยานิก (hydrocyanic acid) ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์สารพิษชนิดนี้ถ้าได้รับมากๆ จะทำให้สัตว์พวกแพะ  แกะ  วัว และควายตายได้ แต่ข้าวฟ่างที่ทำเป็นหญ้าแห้ง หรือหญ้าหมักแล้ว จะใช้เลี้ยงสัตว์ได้โดยไม่เป็นอันตราย  เพราะสารพิษเหล่านี้จะสลายตัวหมดไประหว่างการตากแห้ง หญ้าหมักอาจจะมีกรดปรัซสิกอยู่บ้าง แต่จะระเหยหมดไปในระหว่างที่ขนไปเลี้ยงสัตว์ เมื่อพืชแก่กรดนี้จะลดลง ปริมาณสารพิษนี้จะแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธุ์และสภาพดินฟ้าอากาศ ฉะนั้นในการใช้ต้นข้าวฟ่างเลี้ยงสัตว์จึงต้องระมัดระวัง โดยทั่วไป ไม่ควรให้สัตว์กินต้นอ่อนหรือหน่อที่แตกใหม่ หากจะให้สัตว์กินควรใช้ต้นแก่ หรือมิฉะนั้นก็ตากแห้งหรือทำหญ้าหมักเสียก่อน.

          นอกจากสารพิษที่อยู่ในต้นและใบอ่อนของข้าวฟ่างแล้ว ในเมล็ดข้าวฟ่างบาง พันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ที่มีเมล็ดสีแดงแสด หรือสีน้ำตาล ยังมีสารแทนนินอยู่ในเมล็ดอีกด้วย สารนี้จะทำให้สัตว์เจริญเติบโตได้ไม่ดี เพราะทำให้โปรตีนใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ สารนี้พบมากในข้าวฟ่างพันธุ์ป่า และพันธุ์ที่ต้านทานต่อการเข้าทำลายของ นก เชื่อกันว่าสารนี้ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นได้ ในสมัยโบราณ มีการสกัดเอาสารนี้มาใช้ในการฟอกหนัง เพื่อสกัดเอาโปรตีนที่ติดอยู่ตามหนังออก สารแทนนินในข้าวฟ่างเป็นตัวการทำ ให้รสฝาด จากการศึกษาพบว่าปริมาณแทนนินร้อยละ ๐.๑ ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ แต่ในระดับร้อยละ ๐.๕-๒ จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของสัตว์ลดลง และที่ระดับร้อยละ ๕ สามารถทำให้สัตว์ตายได้ อย่างไรก็ดี สารแทนนินจะไม่มีผลเลยถ้าอาหารนั้นมีโปรตีนเพียงพอ  เช่น  การผสมกากถั่วเหลืองเพิ่มลงไปในอาหารสัตว์  ตั้งแต่ร้อยละ  ๒๕.๓  ขึ้นไปเป็นต้น ตามความเป็นจริงแล้วสารแทนนินไม่ใช่สารพิษ เพียงแต่มีผลทำให้การย่อยโปรตีนลดลงการแยกสารแทนนินออกจากข้าวฟ่าง อาจทำได้โดยการแช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ำด่าง  ที่อุณหภูมิ ๖๐ องศาเซลเซียส แล้วล้างด้วยน้ำร้อน เปลือกของเมล็ดข้าวฟ่างจะหลุดออกมาหมด สารแทนนินก็จะติดเปลือกออกมาด้วย